วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฉุยฉายกิ่งไม่เงินทอง

ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง


รำบทหรือรำใช้บท เป็นการรำของตัวละครซึ่งจะแสดงกิริยาท่าทางตามถ้อยคำในเนื้อเพลง การรำของตัวละครมีความงดงาม  อาจจะนำมาใช้แสดงเป็นเอกเทศมีทั้งรำคู่และรำเดี่ยว
การรำฉุยฉายจะพบได้ใน 3 ลักษณะ คือ
    1.  รำฉุยฉายแบบเต็ม คือ รำฉุยฉายที่ประกอบด้วยบทร้องเพลงฉุยฉาย และบทร้องเพลงแม่ศรีอย่างละ 2 บท หรือมากกว่า
    2.  รำฉุยฉายแบบตัด คือ รำฉุยฉายที่ประกอบด้วยบทร้องเพลงฉุยฉาย และบทร้องเพลงแม่ศรีอย่างละ 1 บท เพื่อความเหมาะสมกับเวลาที่ใช้แสดง
    3.  รำฉุยฉายพวง รำฉุยฉายที่ประกอบด้วยบทร้องเพลงฉุยฉาย และบทร้องเพลงแม่ศรี โดยไม่ต้องมีเสียงปี่เป่าเลียนเสียงบทร้อง ได้แก่ รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง  และรำฉุยฉายยอพระกลิ่น  ในการแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง มณีพิชัย 
ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง เป็นการรำเบิกโรงละครไทยชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำและถ่ายทอดท่ารำเพลงฉุยฉายชุดนี้ จนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ผู้รำแต่งกายยืนเครื่องนาง 2 คน ตัวละครฝ่ายนางถือกิ่งไม้เงินทอง มือข้างขวากำกิ่งไม้ทอง ส่วนมือข้างซ้ายกำกิ่งไม้เงิน ในบท "สองนางเนื้อเหลือง" ฉบับเจ้าจอมละม้าย รำไปตามบทขับร้องและทำนองเพลงฉุยฉาย การรำจะมีอิริยาบถที่งดงาม ทั้งอิริยาบถของการเคลื่อนไหว มือ แขน ขา ใบหน้าและลำตัวที่สวยงาม มีจังหวะท่ารำที่เหมาะเจาะเข้ากับจังหวะของเพลง เพลงที่ใช้เป็นฉุยฉายพวง คือ ร้องรวบความจนจบท่อน โดยไม่มีปี่เป่ารับ นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
รำฉุยฉายที่เป็นการแสดงเบิกโรง  มี 2 ชุด คือ
        3.1 รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง เป็นการรำเบิกโรง การแสดงละครใน
        3.2 รำฉุยฉายพราหมณ์ อยู่ในการแสดงเบิกโรง เรื่อง พระคเณศเสียงา
   ฉุยฉายเอย                                         สองนางเนื้อเหลืองย่างเยื้องกรีดกราย
ห่มผ้าหน้าปักชาย                               ผันผายมาเบิกโรง
มือถือกิ่งไม้เงินทอง                            เป็นของสง่าอ่าโถง
ได้ฤกษ์งามยามโมง                            จะชักโยงคนมาดู
การฟ้อนละครใน                                มิให้ผู้ใดมาเล่นสู้
ล้วนอร่ามงามตรู                                 เชิดชูพระเกียรติเอย
สองแม่เอย                            แม่งามหนักหนา
        เหมือนหนึ่งเทพธิดา                                ลงมากรายถวายกร
รำเต้นเล่นดูดี                                        ยิ่งกว่ามีมาแต่ก่อน
เว้นแต่ท้ายไม่งอน                               ไม่เหมือนละครนอกเอย
สองแม่เอย                            แม่งามแม่งอน
ยิ่งแมนแขนอ่อน                                 อ้อนแอ้นประหนึ่งวาด
ไหล่เหลี่ยมเสงี่ยมองค์                       คิ้วเป็นวงผิวสะอาด
ดังนางในไกรลาศ                               ร่อนลงมารำเอย
 


โกมล คีมทอง. นาฏศิลป์. กรุงเทพฯ : มปท. , 2540.

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทดลองทำคะ กีรติ รามรังสฤษฎิ์


ชื่อ          ระบำกิ่งไม้เงินทอง
ประเภทการแสดง               รำ (เบิกโรง)
ประวัติที่มา          
ระบำกิ่งไม้เงินทอง เป็นการแสดงชุนหนึ่งในบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ตลอดจนบทเบิกโรงต่างๆ ไว้มากมาย ปรากฏในหนังสือตำนานละครอิเหนา พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยามดำรงราชานุภาพความว่า

บทละครหลวงในราชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดงขึ้นใหม่ .... และบทรำต้นไม้ทองเงิน เบิกโรงอีกหลายบท...............

นอกจากนี้ พระยาอนุมานราชธน ได้อธิบายถึงการรำกิ่งไม้เงินทองไว้ในหนังสืออธิบายนาฏศิลป์ไทย ของกรมศิลปากรว่า

       “รำดอกไม้เงินทอง เป็นระบำเบิกโรงอย่างหนึ่ง เข้าใจว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากการรำ บรรเลงซึ่งเป็นการรำเบิกโรงของละครไทยแต่โบราณ เป็นแต่รำดอกไม้เงินทอง โปรดให้ผู้รำแต่งเป็นเทพบุตรทั้งคู่ และมือทั้งสองถือดอกไม้เงินทองข้างละมือแทนถือกำหางนกยูง แล้วทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้นประกอบการฟ้อนรำ โดยมีพระราชประสงค์ไปในทางให้เป็นสวัสดิมงคล ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์
               
เมื่อนั้น

สองมือถือดอกไม้เงินทอง
เบิกโรงละครในให้ประหลาด
ท่าก็งามตามครูดูแม่นยำ
หางนกยูงอย่างเก่าเขาเล่นมาก
คงแต่ท่าไว้ให้งามตามละคร            
รำไปให้เห็นเป็นเกียรติยศ
ว่าพวกฟ้อนฝ่ายในใช้ราชการ
ย่อมช่วงใช้ดอกไม้เงินทอง
ถึงผิดอย่างไปใครจะไม่ชม                ไท้ท้าวเทพบุตรบุรุษสอง
ป้องหน้าออกมาว่าจะรำ
มีวิลาศน่าชมคมขำ
เป็นแต่ทำอย่างใหม่มิใช่ฟ้อน
ไม่เห็นหลากจืดตามาแต่ก่อน
ที่แต่งตนก้นไม่งอนตามโบราณ
ปรากฏทุกตำแหน่งแหล่งสถาน
สำหรับพระภูบาลสำราญรมย์
ไม่เหมือนของเขาอื่นมีดื่นถม
ก็ควรนิยมว่าเป็นมงคลเอย”             
       จากเอกสารทางวิชาการดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า การรำกิ่งไม้เงินทองเป็นการแสดงเบิกโรงของละครในชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากพระรามประสงค์ในราชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระกรุณโปรดเกล้าให้ละครหลวงในสมัยนั้นฝึกหัดขึ้น และใช้แสดงในงานอันเป็นมงคลต่างๆ โดยในแล้วคงจะได้รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงินทองจากประเทศต่างๆ ส่งมาทูลเกล้า ฯ ถวายไว้เป็นอันมาก จึงโปรดให้พวกละครหลวงถือดอกไม้เงินทองรำเบิกโรงรำเบิกโรงแทนการถือหางนกยุงแบบการรำบรรเลง และยังทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องรำดอกไม้เงินทองขึ้น ซึ่งเดิมการรำบรรเลงไม่มีบทร้อง ผู้แสดงร่ายรำตามทำนองเพลงหน้าพากย์เท่านั้น ในเวลาเดียวกันนี้ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทองให้ตัวละครฝ่ายนาง ๒ คน ออกมารำฉุยฉายเบิกโรงละครในด้วย ในสมัยโบราณก่อนแสดงละครในจะต้องมีการรำเบิกโรงละครก่อนแล้วจึงแสดงละครในเป็นเรื่องเป็นราว ต่อไปการรำเบิกโรงละครในอย่างแรกคือ รำบรรเลง ต่อมาในสมัยราชกาลอื่น ทรงเปลี่ยนการแสดงเบิกโรง ละครในชุดประเลงมาเป็นรำดอกไม้เงินทอง และรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง ในสมัยนั้นละครในทุกโรงจะต้องแสดงเบิกโรงชุดรำดอกไม้เงินทอง และรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทองทุกครั้ง ก่อนจะแสดงละครใน
       รำเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ได้รับการลืบทอดมาจากละครวังสวนกุหลาบในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ที่ได้เชิญเจ้าจอมมารดาสาย และเจ้าจอมละม้าย ในราชกาลที่ ๕ ซึ่งเดิมท่านทั้งสองเป็นละครหลวงรุ่นเล็กในราชกาลที่ ๔ และได้เคยเป็นผู้ร่ายรำมาก่อน เข้ามาถ่ายทอดให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการการสอนนาฎศิลป์ไทย วิทยาลับนาฏศิลป์ กรมศิลปะกร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้จดจำนำมาถ่ายทอดให้กับนักเรียนนาฏศิลป์ ศิลปากรสืบมา และได้บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนนาฏศิลป์ ในระดับนาฏศิลป์ขั้นสูง
       นางลมุล ยมะคุปต์ ได้ถ่ายทอดรำเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ให้นางสาวศิริวัฒน์ แสงสว่าง (ดิษยนันทน์) และนางสาวนิตยา จามรมาน แสดงในงานพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ ๒๔๕๙๐ เป็นชุดรำเบิกโรงละครในเรื่องอิเหนา ตอนท้าวดาหาบวงสรวง

       รำเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ที่จัดแสดงโดยสำนักการสังคีตปัจจุบัน เป็นผลงานการปรับปรุงของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ซึ่งได้มีการนำรูปแบบการแสดงชุดรำกิ่งไม้เงินทอง มาใช้ประกอบการแสดงในงานพิธี รัฐพิธีอันเป็นมงคล เช่น รำถวายพระพรต้อนรับพระราชอาคันตุกะ โดยเพิ่มจำนวนผู้แสดงเป็นระบำหมู่แบบพระ นาง ที่งดงามยิ่ง