วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทดลองทำคะ กีรติ รามรังสฤษฎิ์


ชื่อ          ระบำกิ่งไม้เงินทอง
ประเภทการแสดง               รำ (เบิกโรง)
ประวัติที่มา          
ระบำกิ่งไม้เงินทอง เป็นการแสดงชุนหนึ่งในบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ตลอดจนบทเบิกโรงต่างๆ ไว้มากมาย ปรากฏในหนังสือตำนานละครอิเหนา พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยามดำรงราชานุภาพความว่า

บทละครหลวงในราชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดงขึ้นใหม่ .... และบทรำต้นไม้ทองเงิน เบิกโรงอีกหลายบท...............

นอกจากนี้ พระยาอนุมานราชธน ได้อธิบายถึงการรำกิ่งไม้เงินทองไว้ในหนังสืออธิบายนาฏศิลป์ไทย ของกรมศิลปากรว่า

       “รำดอกไม้เงินทอง เป็นระบำเบิกโรงอย่างหนึ่ง เข้าใจว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากการรำ บรรเลงซึ่งเป็นการรำเบิกโรงของละครไทยแต่โบราณ เป็นแต่รำดอกไม้เงินทอง โปรดให้ผู้รำแต่งเป็นเทพบุตรทั้งคู่ และมือทั้งสองถือดอกไม้เงินทองข้างละมือแทนถือกำหางนกยูง แล้วทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้นประกอบการฟ้อนรำ โดยมีพระราชประสงค์ไปในทางให้เป็นสวัสดิมงคล ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์
               
เมื่อนั้น

สองมือถือดอกไม้เงินทอง
เบิกโรงละครในให้ประหลาด
ท่าก็งามตามครูดูแม่นยำ
หางนกยูงอย่างเก่าเขาเล่นมาก
คงแต่ท่าไว้ให้งามตามละคร            
รำไปให้เห็นเป็นเกียรติยศ
ว่าพวกฟ้อนฝ่ายในใช้ราชการ
ย่อมช่วงใช้ดอกไม้เงินทอง
ถึงผิดอย่างไปใครจะไม่ชม                ไท้ท้าวเทพบุตรบุรุษสอง
ป้องหน้าออกมาว่าจะรำ
มีวิลาศน่าชมคมขำ
เป็นแต่ทำอย่างใหม่มิใช่ฟ้อน
ไม่เห็นหลากจืดตามาแต่ก่อน
ที่แต่งตนก้นไม่งอนตามโบราณ
ปรากฏทุกตำแหน่งแหล่งสถาน
สำหรับพระภูบาลสำราญรมย์
ไม่เหมือนของเขาอื่นมีดื่นถม
ก็ควรนิยมว่าเป็นมงคลเอย”             
       จากเอกสารทางวิชาการดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า การรำกิ่งไม้เงินทองเป็นการแสดงเบิกโรงของละครในชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากพระรามประสงค์ในราชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระกรุณโปรดเกล้าให้ละครหลวงในสมัยนั้นฝึกหัดขึ้น และใช้แสดงในงานอันเป็นมงคลต่างๆ โดยในแล้วคงจะได้รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงินทองจากประเทศต่างๆ ส่งมาทูลเกล้า ฯ ถวายไว้เป็นอันมาก จึงโปรดให้พวกละครหลวงถือดอกไม้เงินทองรำเบิกโรงรำเบิกโรงแทนการถือหางนกยุงแบบการรำบรรเลง และยังทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องรำดอกไม้เงินทองขึ้น ซึ่งเดิมการรำบรรเลงไม่มีบทร้อง ผู้แสดงร่ายรำตามทำนองเพลงหน้าพากย์เท่านั้น ในเวลาเดียวกันนี้ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทองให้ตัวละครฝ่ายนาง ๒ คน ออกมารำฉุยฉายเบิกโรงละครในด้วย ในสมัยโบราณก่อนแสดงละครในจะต้องมีการรำเบิกโรงละครก่อนแล้วจึงแสดงละครในเป็นเรื่องเป็นราว ต่อไปการรำเบิกโรงละครในอย่างแรกคือ รำบรรเลง ต่อมาในสมัยราชกาลอื่น ทรงเปลี่ยนการแสดงเบิกโรง ละครในชุดประเลงมาเป็นรำดอกไม้เงินทอง และรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง ในสมัยนั้นละครในทุกโรงจะต้องแสดงเบิกโรงชุดรำดอกไม้เงินทอง และรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทองทุกครั้ง ก่อนจะแสดงละครใน
       รำเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ได้รับการลืบทอดมาจากละครวังสวนกุหลาบในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ที่ได้เชิญเจ้าจอมมารดาสาย และเจ้าจอมละม้าย ในราชกาลที่ ๕ ซึ่งเดิมท่านทั้งสองเป็นละครหลวงรุ่นเล็กในราชกาลที่ ๔ และได้เคยเป็นผู้ร่ายรำมาก่อน เข้ามาถ่ายทอดให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการการสอนนาฎศิลป์ไทย วิทยาลับนาฏศิลป์ กรมศิลปะกร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้จดจำนำมาถ่ายทอดให้กับนักเรียนนาฏศิลป์ ศิลปากรสืบมา และได้บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนนาฏศิลป์ ในระดับนาฏศิลป์ขั้นสูง
       นางลมุล ยมะคุปต์ ได้ถ่ายทอดรำเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ให้นางสาวศิริวัฒน์ แสงสว่าง (ดิษยนันทน์) และนางสาวนิตยา จามรมาน แสดงในงานพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ ๒๔๕๙๐ เป็นชุดรำเบิกโรงละครในเรื่องอิเหนา ตอนท้าวดาหาบวงสรวง

       รำเบิกโรงกิ่งไม้เงินทอง ที่จัดแสดงโดยสำนักการสังคีตปัจจุบัน เป็นผลงานการปรับปรุงของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ซึ่งได้มีการนำรูปแบบการแสดงชุดรำกิ่งไม้เงินทอง มาใช้ประกอบการแสดงในงานพิธี รัฐพิธีอันเป็นมงคล เช่น รำถวายพระพรต้อนรับพระราชอาคันตุกะ โดยเพิ่มจำนวนผู้แสดงเป็นระบำหมู่แบบพระ นาง ที่งดงามยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น